วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2558

การสร้างคำในภาษาไทย2558

คำและการสร้างคำ
   คำ                                                                                                                                                                1) คำคือพยางค์ที่มีความหมาย                                                                                                       
     2) คำแต่ดั้งเดิมไม่ได้เกิดการเอาคำเก่ามารวมกันเรียกว่า  คำมูล                                                              
    - เมื่อเอาคำมูลมาสร้างได้เกิดคำใหม่  จะเกิดคำประสม คำซ้ำ คำซ้อนและคำสมาส

คำมูล  (คำเดียว)
คำมูล  คือ  คำแต่ตั้งเดิม ไม่ได้เกิดจากการรวมคำใดๆ แต่อย่างไร                                                                    ตัวอย่าง  เดิน  กิน  นั่ง  นอน   หมา   กุ้ง  กะทิ   ตลก  กระเป๋า  หนังสือ   กระถาง  วารี   กีฬา  มานะ  ตุ๊กแก  ชีวิต  กระจก  กะโหลก  มะละกอ




วิธีการดูคำมูล                                                                                                                                                                     1)  คำพยางค์เดียวทุกคำเป็นคำมูล                                                                                                          2)  ถ้าเป็นคำมากกว่า  2  พยางค์  ให้แยกทีละพยางค์  คือ                                                             
- ความหมายของคำใหม่   ไม่เกี่ยวความหมายพยางค์                                                                              
ความหมายของคำใหม่ ไม่ใช่คำมูล  
  เช่น                                                                                                                                                             ตะกร้า          =  ตะ+ กร้า  =  ไม่เกี่ยวกับ  ตะ กร้า      คำมูล                                                   
นารี              =  นา รี      =  ไม่เกี่ยวกับ   นา รี         คำมูล                                              
วารี (น้ำ)       =  วา น้ำ    =  ไม่เกี่ยวกับ   วา , รี         คำมูล
                                                                                                          

 คำซ้ำ
1)คำซ้ำเกิดจากการเอาคำที่มีรูปและความหมายเหมือนกันมาซ้ำกัน                                                                               
2) ปกติเราสามารถใช้เครื่องหมายยมกแทนคำมูลคำที่สอง ยกเว้นกรณีที่เป็นร้อยกรอง เช่น                
-เรากินข้าวที่เป็นชามชามเลย = เรากินข้าวที่เป็นชามๆ เลย                                                                                                    
-เรื่อยเรื่อยมาเรียงเรียง  นกบินเฉียงไปทั้งหมู่ (เรื่อยเรื่อย” และ” เรียงเรียง  ถึงจะเป้นคำซ้ำ แต่เราไม่ใช้ไม้ยมกแทนเพราะอยู่ในร้อยกรอง                                                                                                               3) ต่อไปนี้ไม่ใช่คำซ้ำ                                                                                                                                 -คำมูล  เช่น  ไวไว (ชื่ออาหาร) , นานา (ต่างๆ) , จะจะ (กระจ่าง)                                                                                      
-คำคนละความหมาย  หน้าที่ เช่น                                                                                                            นายดำดำลงไปมาก        ดำคำแรกเป็นคำ ชื่อ   ดำคำที่สองเป็นคำ ผิวดำ
  ห้องห้องนี้สะอาดมาก   ห้องคำแรกเป็นคำ นาม  ห้องคำที่สองเป็นคำ ลักษณะนาม                         
4) ความที่เกิดจากการซ้ำคำ

ความหมาย
ตัวอย่าง
พหูพจน์
ลูก ๆ ไม่ยอมกินข้าวกันเลย
มีสิ่งนั้นเป็นจำนวนมาก
เธอกินข้าวเป็นชาม ๆ เลย
แยกจำนวน
จ่ายเป็นงวด ๆ จะดีกว่า
ทำกริยาซ้ำ ๆ ต่อเนื่อง
มอง ๆ ตั้งนานถึงรู้ว่าเป็นเธอ
ทำกริยาโดยไมตั้งใจ
ไปเดิน ๆ เป็นพิธีก็แล้วกัน
บอกลักษณะ
เธอสวมเสื้อสีฟ้า ๆ
ไม่เจาะจง
เขานั่งอยู่ข้าง ๆ เธอ
เน้นความหมาย
ใกล้ไกล เดินเท่าไร ๆ ก็ไม่ถึงเสียที
เปลี่ยนความหมายจากเดิม
อยู่ๆ  ไปๆ  ไปๆ  มาๆ
                                                         
      
คำซ้อน (คำคู่)
คำซ้อนเกิดจากการเอาคำที่มีความหมายเหมือนกัน  คล้ายกัน หรือตรงกันข้ามมารวมกัน  ประเภทของคำซ้อน                                                                                                                                                     
-คำซ้อนที่มีความหมายเหมือนกัน  คล้ายกัน เช่น  ถ้วยชาม  ข้าวปลาอาหาร  ครูบาอาจารย์   บ้านเรือน  ผู้คน  จิตใจ  มืดค่ำ  สร้างสรรค์   เชิดชู    หักโหม เฮฮา                                                                              คำซ้อนทีความหมายตรงกันข้าม เช่น  ทอดถอน  ชั่วดี  ดึงดัน  ถี่ห่าง  ดีเลว  ล้มลุก  ซื้อขาย     

จุดที่น่าสนใจ                                                                                                                                                                   
1) บางคำเป็นคำซ้อนที่ดูง่ายมาก  เช่น  จิตใจ  ดีงาม  คุณค่า  ปัดกวาด                                                        2) แต่บางคำก็ดูยากโดยเฉพาะบางคำที่มีคำซ้อนอีคำเป็นคำเก่าแก่หรือคำภาษาถิ่น  เช่น  ตัดสิน (สิน  เป็นคำเก่ามาก  แปลว่า ตัด)                                                                                                                          
3) คำต่อไปนี้ไม่ใช่คำซ้อน เช่น  กินอิ่ม  สื่อสาร  ห่วงใย   ล้มละลาย                                                           4) วิธีดูโครงสร้างของคำซ้อน  อาจจะมองว่าคำซ้อนนั้นเกิดจากคำความหมายเหมือนหรือตรงข้ามมารวมกันหรือเกิดจากคำที่มีความหมายเหมือนกัน  เช่น  ข้าวปลาอาหาร

ความหมายที่เกิดจากการซ้อนคำคำ                                                                                             
1) อยู่ที่คำเพียงบางคำในกลุ่มคำทั้งหมด เช่น ใจคอ  ปากคอ  หน้าตา   รูปร่างร่าง                               
2) อุปมา เช่น หนักแน่น  ดูดดื่ม  อบรม  มัวหมอง  เด็ดขาด  เดือดร้อน

คำซ้อนเพื่อเสียง                                                                                                     
1) คำซ้อนเพื่อเสียงเกิดจากการเอาพยางค์ที่มีเสียงพยัญชนะต้นเหมือนกันมารวมกันกัน                        
2) พยางค์ที่นำมาซ้อนเพื่อเสียงอย่างน้อย พยางค์จะไม่มีความหมาย (ไม่ให้ความหมาย)                       3) ตัวอย่างคำซ้อนเพื่อเสียง เช่น   เงอะงะ   งอแง   โฉ่งฉ่าง    เฟอะฟะ   ฟูมฟาย     


คำประสม
คำประสมเกิดจากการเอาคำ ๒ คำ ที่ความหมายต่างกันมารวมกันให้เกิดความหมายใหม่ โดยมีเค้าความหมายเดิม
วิธีดูคำประสม
1.)   คำประสมต้องมีความหมายเกี่ยวกับคำ ๒ คำ ที่เอามารวมกันด้วย เช่น
ข้าวผัด  ต้องเกี่ยวกับ  ข้าว และผัด
มะม่วงกวน  ต้องเกี่ยวกับ  มะม่วง และ กวน
เสื้อยืด  ต้องเกี่ยวกับ  เสื้อ และ ยืด

2.) ต้องเกิดความหมายใหม่ คือ เป็นชื่อเรียก หรือ กริยาอาการใหม่ หรือ ลักษณะใหม่
-          ตู้เย็น (เครื่องใช้ชนิดหนึ่ง) ก๋วยเตี๋ยวหลอด ( อาหารชนิดหนึ่ง )
-          ท่าเรือ(สถานทีหนึ่ง)          คนงาน ( อาชีพคน )
-          ไฟหน้า(อุปกรณ์รถ)          ใจดี ( นิสัยคน )
-          สมชาย(ชื่อคน)                  การไฟหน้า ( ชื่อองค์การ )
-           
3.)  คำประสมรวมคำเข้า เป็นคำใหม่คำเดียวกันแล้ว ดังนั้น คำที่มาขยายกัน ไม่ใช่คำใหม่หรือคำเดียวกัน จึงไม่ใช่คำประสม
เช่น     
-          มะม่วงกวน มะม่วงแช่อิ่ม ข้าวเหนียวมะม่วง  เป็น  คำประสม
     มะม่วงเก่า มะม่วงเน่า มะม่วงเธอ  ไม่ใช่ คำประสม
-          เด็กดอง เด็กปั๊ม เด็กเฝ้ารถ เป็น      คำประสม
เด็กน่ารัก เด็กคนนั้น เด็กน้อย       ไม่ใช่   คำประสม
-          แม่บ้าน แม่ทัพ แม่น้ำ         เป็น      คำประสม
แม่เธอ แม่เขา แม่ผม          ไม่ใช่   คำประสม
-ต้มยำ ต้มเค็ม ต้มข่า          ไม่ใช่   คำประสม
ต้มไข่ ต้มมาม่า ต้มแล้ว     ไม่ใช่   คำประสม

ตัวอย่างคำประสม
-          แกงส้ม แกงเผ็ด ต้มยำ น้ำพริก ขนมถ้วยฟู ทองหยอด อมยิ้ม ลูกอม
-          ทางเท้า ทางด่วน ทางคู่ขนาน ท่าเรือ ดาวเทียม เรือหางยาว รถใต้ดิน จดหมายด่วน
-          แม่งาน แม่ครัว พ่อบ้าน คนทรง คนงาน ผู้แทน หัวคะแนน
-          วิ่งเปี้ยว วิ่งทน ทุ่มน้ำหนัก ขว้างจักร กระโดดไกล มวยปล้ำ
-          ผ้านุ่ง ผ้าเช็ดตัว ผ้าพันคอ กระเป๋าถือ เตารีด ตู้เย็น พัดลม เข็มซ่อนปลาย
-          ลูกบิด บานเกล็ด บานพับ วงกบ กระเบื้องลอนคู่
-          แต่งหน้า เจาะข่าว จับตาย หาเสียง เลือกตั้ง รดน้ำ โหมโรง หลบฉาก
-          คอตก ใจจืด ใจดำ ปากหวาน
-          ข้างใน ข้างนอก ข้างหน้า ข้างหลัง ภายใน ภายหน้า ภายนอก ภายหลัง ต่อไป
-          การ ความ คำนาม เช่น การไฟฟ้า การรถไฟ ความแพ่ง ความอาญา

โครงสร้างของคำประสม
คำแรก
คำตาม
นำมาใช้เป็นคำ
ตัวอย่าง
นาม
นาม
นาม
พ่อตา แม่บ้าน ลูกน้ำ รถม้า เรือใบ
นาม
กริยา
นาม
เรือบิน ผ้าไหว้ ลูกเลี้ยง เหล็กดัด
นาม
วิเศษณ์
นาม
ทองแดง กระดานดำ มะม่วงมัน ม้าเร็ว
นาม
บุพบท
นาม
เมืองนอก นางใน เบี้ยบน หมอนข้าง
กริยา
กริยา
นาม
ต้มยำ พิมพ์ดีด กันสาด ห่อหมก
กริยา
นาม
นาม
เรียงเบอร์ ยกทรง ย่อความ
วิเศษณ์
นาม
นาม
สามล้อ สิบแปดมงกุฎ สามเกลอ
นาม
+
นาม
ห้องรับแขก ผ้ารองจาน ที่เขี่ยบุหรี่
กริยา
กริยา
กริยา
อยู่กิน เดินเล่น ร้องเรียน ปัดรังควาน
กริยา
นาม
กริยา
ปิดปาก ยกเมฆ วางก้าม หักหน้า
กริยา
วิเศษณ์
กริยา
ถือดี คิดร้าย บอกใบ้ คิดคด
นาม
วิเศษณ์
วิเศษณ์
คอแข็ง ใจดี ใจร้าย ชั้นสูง
                 
ความสัมพันธ์ระหว่างคำที่มาประสมกัน
คำเติมเข้ามาเพื่อช่วยบอก
ตัวอย่าง
กิจกรรมหรืออาชีพ
นักร้อง เด็กเฝ้ารถ คนขนขยะ
ความสามารถเฉพาะทาง
หมอฟัน ช่างไม้ ช่างกล
บอกลักษณะ
น้ำจืด ปลาเค็ม เรือด่วน
ประโยชน์
ม้านั่ง บ้านพัก ผ้ารองจาน
ที่มา
เทียนไข น้ำตาลมะพร้าว น้ำมันพืช
ที่นี่มีอะไร
นากุ้ง สวนสัตว์ ร้านกาแฟ
พลังงานที่ใช้
เตาถ่าน เตาแก๊ส ปืนลม

ชนิดของคำ
๑.)   นาม (N – ใช้เรียกชื่อ คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่
๒.) กริยา (V – บอกการกระทำ
๓.)  วิเศษณ์ (adj– ขยาย เช่น สูง สวย แดง หนึ่ง สอง
๔.)  บุพบท (prep– คำเชื่อม เช่น บน ล่าง ใน นอก

คำสมาส
หลักการสมาสคำ
๑.)   เอาคำบาลี-สันสกฤษ มารวมกัน ห้ามเอาคำภาษาอื่นมารวมกัน เช่น
-          รัฐ กิจ (บาลี+บาลี)
-          ศรี ประชา (สันสกฤต+สันสกฤต)
-          พุทธ ศักราช (บาลี+สันสกฤต)

๒.) เอาคำขยายวางหน้าคำหลัก  เช่น
วิชาเกี่ยวกับอดีต               =          ประวัติ + ศาสตร์
วิชาเกี่ยวกับการคิดคำนวณ           =          คณิต ศาสตร์
พาหนะทางอากาศ             =          อากาศ ยาน
ลัทธิเกี่ยวกับมนุษย์                        =          มนุษย นิยม
ลัทธิเกี่ยวกับสังคม                        =          สังคม นิยม
การช่วยสังคม                   =          สังคม สงเคราะห์




๓.)  ห้ามใส่เครื่องหมาย “ ะ ”  “   ”  ระหว่างคำ เช่น   
ลักษณะ นาม      =          ลักษณะนาม
ศิลปะ วัฒนธรรม           =          ศิลปวัฒนธรรม
ธุระ กิจ               =          ธุรกิจ
วาระ สาร                       =          วารสาร
สถาปัตย์ กรรม   =          สถาปัตยกรรม


ยกเว้น                           - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
                                      -พระ คำแขก เช่น พระหัตถ์ พระชนก





๔.)  เวลาอ่านคำสมาส ตรงกลางคำจะอ่านออกเสียงสระด้วย (อ่านต่อเนื่องระหว่างคำ)


เช่น                  อุบัติ เหตุ                   =                     อุบัติเหตุ
                                          
                    ตรงนี้ไม่อ่านสระ อิ                         ตรงนี้อ่านเสียงสระ อิ
                  -ประวัติ ศาสตร์                                      ประวัติศาสตร์
-กุลสตรี อุดมการณ์ อุดมคติ สมการ กิจการ อักษรศาสตร์ รสนิยม ประสบการณ์

                        
                       มีหลายคำเขาไม่นิยมอ่านเนื่องจากเสียงระหว่างคำ แต่จริงๆ ก็เป็นคำสมาส เช่น
                       ชาตินิยม ปฏิบัติการ สามัญศึกษา อุโบสถศีล สาธกโวหาร ปทุมธานี สุพรรณบุรี









จุดสำคัญของคำสมาส
1  1)           จุดแรกที่เขาจะเน้นมาก คือ คำสมาสจะต้องเอาเฉพาะคำแขกมารวมกัน
ห้ามเอคำภาษาอื่นรวมกันโดยเด็ดขาด เช่น
-  พล เรือน       มีคำว่า  เรือน            เป็นคำ  ไทย                 เลยไม่ใช่คำสมาส       
ราช + วัง           มีคำว่า  วัง                เป็นคำ  ไทย                 เลยไม่ใช่คำสมาส
ทุน + ทรัพย์      มีคำว่า  ทุน               เป็นคำ  ไทย                 เลยไม่ใช่คำสมาส
สรรพ สินค้า  มีคำว่า  สินค้า          เป็นคำ  ไทย                  เลยไม่ใช่คำสมาส
ภูมิ  สำเนา     มีคำว่า  สำเนา          เป็นคำ  เขมร                 เลยไม่ใช่คำสมาส       
เคมี + ภัณฑ์      มีคำว่า  เคมี              เป็นคำ  อังกฤษ              เลยไม่ใช่คำสมาส

2) ห้ามลืมว่า คำสมาสจะต้องเอาคำขยายไว้หน้าคำหลัก ถ้าเอาคำหลัก ขยาย จะกลายเป็นคำแบบเรียงผสมของไทย ไม่ใช่คำสมาสแขก เช่น
ผลผลิต          คำหลักอยู่ที่  ผล          ถ้าต้องการให้เป็นคำสมาสต้องแก้เป็น  ผลิตผล
- วิบากกรรม    คำหลักอยู่ที่  วิบาก      ถ้าต้องการให้เป็นคำสมาสต้องแก้เป็น  กรรมวิบาก

3) วิธีการทำข้อสอบประเภทที่ถามว่าข้อไหนเป็นคำสมาส มีอยู่ ข้อ ที่เอาไว้สังเกตแล้วตัดสินใจง่ายๆ คือ



เช่น กิจจะลักษณะ , พิพากษ์วิจาร , ประสิทธ์ประสาท , พิมพ์ดีด
           
           คำไหนอ่านเนื่องเสียง (อ่านเสียงสระตรงกลางคำ) แล้วเป็นคำแขกทั้งคู่ก็เป็นคำสมาส เช่น
ธุรการ , วารดิถี , สมณเพศ , เยาวชน , ราชครู

คำสนธิ
1) คำสนธิ คือ คำสมาสชนิดหนึ่ง เพียงแต่เวลาที่สมาส เราจะตัดตัว “” ที่คำหลังแล้วเอาพยัญชนะสุดท้ายของคำหน้าไปแทนที่ เช่น
            ศิลปะ อาการ
            สมาสธรรมดา ได้ว่า ศิลปะอากร
            สมาสสนธิ  ได้ว่า ศิลปากร (ตัด อ แล้วเอา ป มาแทน)
            มห อรรณพ
            สมาสธรรมดา  ได้ว่า มหอรรณพ
            สมาสสนธิ  ได้ว่า มหรรณพ (ตัด อ แล้วเอา ห มาแทน)
            วิทยา อาลัย              สนธิได้ว่า  วิทยาลัย
            ประชา อาการ           สนธิได้ว่า  ประชากร
            อน อารยชน             สนธิได้ว่า  อนารยชน
2          2)           เวลาที่เราสนธิ สระบางตัวเขาแผลงกันได้ เช่น
อิ แผลงเป็น เอ ได้        เช่น อินทร์     เอนทร์อิ แผลงเป็น เอ ได้       
 เช่น     อินทร์ ---  เอนทร์
            อุ แผลงเป็น โอ ได้       เช่น อุทัย --- โอทัย
            อุ แผลงเป็น ว  ได้        เช่น ธนู --- ธนว
            อี แผลงเป็น ย  ได้        เช่น สามัคคี --- สามัคย

     3)           มาลองสนธิคำต่อไปนี้กันว่าได้คำว่าอะไร
มกร อาคม                =          มกราคม
มีน + อาคม                  =          มีนาคม
เมษ + อายน                 =          เมษายน
พฤษภ + อาคม            =          พฤษภาคม
เมถุน + อายน              =          มิถุนายน
กรกฎ + อาคม             =          กรกฎาคม
สิงห์ + อาคม               =          สิงหาคม
ธนู + อาคม                  =          ธันวาคม
อน + เอก                     =          อเนก
กุศล + อุบาย                =          กุศโลบาย
วิเทศ + อุบาย               =          วิเทโศบาย
สุข + อุทัย                    =          สุโขทัย
มห โอฬาร                =          มโหฬาร

      4)           จุดสำคัญของเรื่องคือ เวลาจะดูว่าคำนั้นสมาสธรรมดาหรือสนธิ ให้แยกคำนั้นออกจากกันก่อน
-          ถ้าคำนั้นแยกกันได้(ไม่ต้องเติม  อ ” ที่คำหลัง) = คำสมาสธรรมดา
เช่น   วัฒนธรรม วัฒน ธรรม
         พุทธมณฑล พุทธ มณฑล
-          ถ้าคำนั้นเวลาแยกกัน เราต้องเติมตัว “  ” ที่คำหลังถึงจะได้คำที่สมบรูณ์ = คำสนธิ
เช่น   ราโชรส        =          ราช โอรส
         ไพรินทร       =          ไพรี อินทร์
         มหรรณพ      =          มห + อรรณพ
         คเชนทร์        =          คช อินทร์
         บุญญาธิการ  =          บุญญ อาธิการ

5)           คำต่อไปนี้เวลาแยก เราจะสับสนกันมาก จำดีๆนะตรงนี้
วิยาเขต      =          วิทยา เขต     สรรพสามิต     =          สรรพ อากร

กร  =  ผู้ทำ , ผู้ให้ , คน                                         กร  =  แหล่ง

วิทยากร     =  วิทยา + กร                                      สรรพากร  =  สรรพ อากร
                  ทิพากร      =  ทิพา + กร                                        ทรัพยากร  =  ทรัพย อากร
                  รัชนีกร      =  รัชนี กร                                        ประชากร  =  ประ กร



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น